อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

      สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ เป็นพวกที่มีหลายเซลล์ เซลล์จัดเรียงตัวกันเป็นเนื้อเยื่อ สัตว์ทุกชนิดไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ แต่ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotrophy) สัตว์ที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม โดยในที่นี้จะกล่าวถึงสัตว์ในหมวดหมู่ระดับไฟลัม




                         สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมีมากกว่า 1.7 ล้านสปีชีส์ ในจำนวนนี้เป็นแมลงประมาณ 6 แสนชนิด สัตว์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศในแง่ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปยังผู้บริโภคระดับต่างๆ นอกจากนี้สัตว์ยังเป็นตัวทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีความสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และก่อให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ 


ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์

                เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างแบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบกในน้ำ และบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ พยาธิใบไม้ กบ ลิง กระต่าย ดาวทะเล แมงดาทะเล พลานาเรีย หอย2ฝา แมลงสาบ



ที่มา : http://kingdom-animalia.bbkbike.com/

เกณฑ์ในการพิจารณาและจัดสิ่งชีวิตเข้าไว้ในอาณาจักรสัตว์

         -  เซลล์แบบยูคาริโอต (eukaryotic cell) คือเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ในไซโทพลาสซึมมีออร์แกนเนลล์ต่างๆ กระจายอยู่
เซลล์ยูคาริโอต (เซลล์พืช)
 
 เซลล์ยูคาริโอต (เซลล์สัตว์)
 


        -  ร่างกายประกอบด้วยเซลล์ชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ เรียกว่าเซลล์สัตว์ ทำให้เซลล์มีลักษณะอ่อนนุ่มและแตกต่างไปจากเซลล์พืช เซลล์เหล่านี้จะมารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ซึ่งพบว่าเซลล์ในเนื้อเยื่อมักมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน มีการประสานการทำงานระหว่างกัน สัตว์ชั้นสูงมีเนื้อเยื่อหลายชนิดสามารถจำแนกตามหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ของร่างกายเป็น 5 ประเภท คือ เนื้อเยื่อบุผิว(epithelial tissue) เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ(muscular tissue) เนื้อเยื่อลำเลียง (vascular tissue) และเนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue) 


        -  สร้างอาหารเองไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นการดำรงชีวิตจึงต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์ด้วยกัน การดำรงชีวิตจึงมักเป็นแบบผู้ล่าเหยื่อหรือปรสิตเสมอ

 
       -  โดยทั่วไปเคลื่อนที่ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบว่าเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่

 
       -  โดยส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท มีอวัยวะรับความรู้สึกและตอบสนอง เช่น การกินอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ เป็นต้น 

เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกหมวดหมู่ของอาณาจักรสัตว์
 
             ปัจจุบันสัตว์ในโลกที่มนุษย์รู้จักมีมากกว่า 1 ล้านสปีชีส์ พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็มและบนบก ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate) และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) และสามารถจำแนกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ราว 35 ไฟลัม แต่ส่วนใหญ่จะเรียนรู้กันเฉพาะไฟลัมใหญ่ ๆ เท่านั้น ซึ่งในการจัดจำแนกจะใช้เกณฑ์ต่าง ๆดังนี้
                  

                 1. ระดับการทำงานร่วมกันของเซลล์ (level of cell organization) โดยดูการร่วมกันทำงานของเซลล์และการจัดเป็นเนื้อเยื่อนั้น มีลักษณะเป็นอย่างไรมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งทำให้แบ่งสัตว์ออกเป็นพวกใหญ่ ๆ คือ 
                          1.1 เนื้อเยื่อที่ไม่แท้จริง( no true tissue) เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า พาราซัว (parazoa) เนื่องจากเซลล์ในสัตว์กลุ่มนี้ไม่มีการประสานงานกันระหว่างเซลล์ โดยเซลล์ทุกเซลล์จะมีหน้าที่ในการดำรงชีวิตของตนเอง หน้าที่ทั่วไปคือด้านโภชนาการ และสืบพันธุ์ ได้แก่ พวกฟองน้ำ


                          1.2 เนื้อเยื่อที่แท้จริง (true tissue) เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า ยูเมตาซัว (eumetazoa) ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกสร้างขึ้นเป็นชั้น หรือเรียกว่า ชั้นของเนื้อเยื่อ (germ layer) มี 2 ประเภทคือ
                                        1.2.1 เนื้อเยื่อ 2 ชั้น (diploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) ได้แก่ พวกไฮดรา แมงกะพรุน โอบีเลีย

                                        1.2.2. เนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก ชั้นกลาง (mesoderm) และชั้นใน ได้แก่พวกหนอนตัวแบนขึ้นไป จนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

เนื้อเยื่อ 2 ชั้น(ทางซ้าย)/เนื้อเยื่อ 3 ชั้น(ทางขวา)
 
                 

                2. สมมาตร (symmetry) คือลักษณะการแบ่งร่างกายออกเป็นซีก ๆ ตามความยาวของซีกเท่า ๆ กัน มีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่
                          2.1 ไม่มีสมมาตร (asymmetry) มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่สามารถแบ่งซีกซ้ายและซีกขวาได้ เท่า ๆ กัน ได้แก่ พวกฟองน้ำ
                           2.2 สมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) ร่างกายของสัตว์จะมีรูปร่างคล้ายทรงกระบอก หรือล้อรถ ถ้าตัดผ่านจุดศูนย์กลางแล้วจะตัดอย่างไรก็ได้ 2 ส่วนที่เท่ากันเสมอ หรือเรียกว่า มีสมมาตรที่ผ่าซีกได้เท่า ๆ กันหลาย ๆ ครั้งในแนวรัศมี ได้แก่ สัตว์พวกไฮดรา แมงกะพรุน ดาวทะเล เม่นทะเล
                          2.3 สมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) หรือมีสามาตรที่ผ่าซีกได้เท่า ๆ กัน เพียง 1 ครั้ง สมมาตรแบบนี้สามารถผ่าหรือตัดแบ่งครึ่งร่างกายตามความยาวของลำตัวแล้วทำให้ 2 ข้างเท่ากัน ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม แมลง สัตว์มีกระดูกสันหลัง
สมมาตรแบบรัศมี (ทางซ้าย) / สมมาตรแบบครึ่งซีก (ทางขวา)

               

                3. ลักษณะช่องว่างในลำตัวหรือช่องตัว (body cavity or coelom) คือช่องว่างภายในลำตัวที่อยู่ระหว่างผนังลำตัวกับอวัยวะภายในตัว ภายใน coelom มักจะมีของเหลวอยู่เต็ม ของเหลวเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งระบบไหลเวียนโลหิตง่าย ๆ ในสัตว์บางพวกช่วยลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และของเสีย เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอกที่อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน และยังเป็นบริเวณที่ทำให้อวัยวะภายในเคลื่อนที่ได้อิสระจากผนังลำตัว ยอมให้อวัยวะขยายใหญ่ได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกสัตว์ได้ แบ่งเป็น 3 พวกคือ
                          3.1 ไม่มีช่องว่างในลำตัวหรือไม่มีช่องตัว (no body cavity or acoelom) เป็นพวกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นอยู่ชิดกัน โดยไม่มีช่องว่างในแต่ละชั้น ได้แก่พวกหนอนตัวแบน
                          3.2 มีช่องตัวเทียม (pseudocoelom) เป็นช่องตัวที่เจริญอยู่ระหว่าง mesoderm ของผนังลำตัว และ endoderm ซึ่งเป็นทางเดินอาหาร ช่องตัวนี้ไม่มีเยื่อบุช่องท้องกั้นเป็นขอบเขต ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม โรติเฟอร์ (rotifer)
                          3.3 มีช่องตัวที่แท้จริง (eucoelom or coelom) เป็นช่องตัวที่เจริญแทรกอยู่ระหว่าง mesoderm 2 ชั้น คือ mesoderm ชั้นนอกเป็นส่วนหนึ่งของผนังลำตัว (body wall) กับ mesoderm ชั้นในซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผนังลำไส้ (intestinal wall) และ mesoderm ทั้งสองส่วนจะบุด้วยเยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) ได้แก่ ไส้เดือนดิน หอย แมลง ปลา สัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น
               
ช่องว่างภายในลำตัว ( บริเวณสีขาววงนอก )

                  4. การเกิดช่องปาก ซึ่งสามารถแบ่งสัตว์ตามการเกิดช่องปากได้ 2 กลุ่ม
                            4.1 โปรโตสโตเมีย (protostomia) เป็นสัตว์พวกที่ช่องปากเกิดก่อนช่องทวารในขณะที่เป็นตัวอ่อน ซึ่งช่องปากเกิดจากบลาสโตพอร์ หรือบริเวณใกล้ ๆ บลาสโตพอร์ (blastopore) ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน หนอนตัวกลม หนอนมีปล้อง หอย สัตว์ขาปล้อง
                            4.2 ดิวเทอโรสโตเมีย (deuterostomia) เป็นสัตว์พวกที่ช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร เกิดจากช่องใหม่ที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นทางเดินอาหารซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ บลาสโตพอร์ ได้แก่ พวกดาวทะเล และสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ภาพเปรียบเทียบการเกิดของช่องปาก
 
             

                  5. ทางเดินอาหาร (digestive tract) โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
                            5.1 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete digestive tract) เป็นทางเดินอาหารของสัตว์ที่มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก หรือมีช่องทางเดินอาหารเข้าออกทางเดียวกัน หรือทางเดินอาหารแบบปากถุง (one-hole-sac) ได้แก่พวกไฮดรา แมงกะพรุน หนอนตัวแบน
                            5.2 ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (complete digestive tract) เป็นทางเดินอาหารของสัตว์ที่มีทั้งปากและทวารหนัก หรือมีช่องทางเข้าออกของอาหารคนละทางกัน หรือทางเดินอาหารแบบท่อกลวง (two-hole-tube) ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม จนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง
            
เปรียบเทียบทางเดินอาหาร ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (ภาพบน) /ทางเดินอาหารสมบูรณ์ (ภาพล่าง)

                   6. การแบ่งเป็นปล้อง (segmentation) การแบ่งเป็นปล้องเป็นการเกิดรอยคอดขึ้นกับลำตัวแบ่งออกเป็น
                            6.1 การแบ่งเป็นปล้องเฉพาะภายนอก (superficial segmentation) เป็นการเกิดปล้องขึ้นเฉพาะที่ส่วนผิวลำตัวเท่านั้นไม่ได้เกิดตลอดตัว เช่น พยาธิตัวตืด

                             6.2 การแบ่งเป็นปล้องที่แท้จริง (metameric segmentation) เป็นการเกิดปล้องขึ้นตลอดลำตัวทั้งภายนอกและภายใน โดยข้อปล้องเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ทำให้เนื้อเยื่อชั้นอื่น ๆ เกิดเป็นปล้องไปด้วย ได้แก่ ไส้เดือน กุ้ง ปู แมลง ตลอดไปจนสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

เปรียบเทียบลักษณะลำตัว แบบปล้องเฉพาะภายนอก (ทางซ้าย)/แบบปล้องที่แท้จริง (ทางขวา)
 
 
 ที่มา : http://animal41.blogspot.com/

PHYLUM PORIFERA

         Porifera มาจากภาษาละติน (porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึงสัตว์ที่มีรูพรุน สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ (sponge) มีช่องว่างภายในลำตัว (spongocoel) น้ำจะผ่านเข้าทางรูพรุน (ostium) ซึ่งมีอยู่ทั่วตัวสู่ช่องว่างภายในลำตัวและผ่านออกจากตัวทางช่องน้ำไหลออก (osculum) โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10, 000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบประมาณ 50 สปีชีส

 ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Porifera
        -มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (Asymmetry)
        -มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวหรืออิพิเดอร์มีส ส่วนชั้นในประกอบด้วย
   เซลล์พิเศษเรียกว่า Choanocyte หรือ Collar cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีแฟลกเจลลา 1 เส้นและ มีปลอกคอ (collar) บุ          อยู่โดยรอบเรียกเซลล์ชั้นนี้ว่า gastral layer
         - เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด และ ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (Parazoa)
         - ตัวเต็มวัยเกาะกับที่ จึงไม่มี nervous system และ sense organ
         - มีทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม
         - มีสีสดใส (แดง ส้ม เหลือง ม่วง) เกิดจากรงควัตถุที่อยู่ในเซลล์ผิว
         - ฟองน้ำที่มีรูปร่างซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีสมมาตรรัศมี แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสมมาตร
         - จะสร้าง Gemmule (แตกหน่อ)เวลาสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม
         - มีโครงร่างแข็งค้ำจุน (Spicule ที่เป็นหินหรือแก้ว , Spongin ที่เป็นเส้นใยโปรตีน)    -ทางเดินอาการเป็นแบบ  ช่องร่างแห (Channel network) ซึ่งประกอบด้วยรูเปิดเล็กๆ (ostia) ที่บริเวณผิวลำตัวรอบตัว ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลเข้าภายในตัวและมีรูขนาดใหญ่ (osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลออกจากตัว
         -ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบประสาทโดยเฉพาะ โดยทั่ว
ไปอาศัยการไหลเวียนของน้ำเป็นกระบวนการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้
        -มีโครงร่างภายใน (Endoskeleton) เรียกว่าหนามฟองน้ำ (spicule) ซึ่งมักจะเป็นสารพวกหินปูนหรือแก้ว (silica) บางชนิดมีโครงร่างเป็นพวกใยโปรตีน(spongin) ทำให้ตัว
ฟองน้ำมีลักษณะนุ่มนิ่ม
        - การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน และจะได้ตัวอ่อนที่มีขนซีเลียว่ายน้ำได้ และต่อมาก็หาที่เกาะ
เจริญเป็นฟองน้ำเต็มวัยต่อไป



PHYLUM COELENTERATA

   ได้แก่ แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา

ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Coelenterata
         - ร่างกายประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ Epidermis เเละ Gastrodermis 
         - ระหว่างชั้นเนื้อเยื่อมีสารคล้ายวุ้นเรียกว่า Mesoglea เเทรกอยู่ 
         - ลำตัวกลวงลักษณะเป็นถุงตันมีช่องเปิดช่องเดียวเรียกว่า gastrovascula cavity ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารอาหารเข้าเเละกากอาหารออกทางช่องเปิดเดียวกัน 
         - มีหนวดอยู่รอบปากเรียกว่า เทนทาเคิล ( tentacle )ใช้สำหรับจับเหยื่อ
         - มีวงจรชีพสลับ
         - มี 2 เพศในตัวเดียวกัน
         - มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) 
         - มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอกทำหน้าที่เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อ  ชั้นในทำหน้าที่เป็นเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่เรียกว่าชั้นโซเกลีย (Mesoglea) 
       - ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนักช่อง ทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัวทำหน้าที่เป็นทั้งทางเดินอาหารและ ระบบหมุนเวียน เรียกว่าแกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity)
       - มีเข็มพิษหรือเนมาโทซีสต์(Nematocyst)ใช้ในการป้องกันและฆ่า เหยื่อเนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด(Tentacle) ซึ่งอยู่รอบปากมากกว่าบริเวณอื่นๆทำให้การหาอาหารและการต่อสู้กับ ศัตรูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 
         -ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆระหว่างน้ำที่ อยู่รอบๆตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษเช่นเซลล์ ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ช่วยทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสามอาหาร เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป 
         -ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท(Nerve net)แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวดดังนั้นการนำกระแสประสาทจึงเป็นไปใน ลักษณะทุกทิศทุกทางทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ช้าและมีทิศ ทางไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ 
         - สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างเป็น 2 แบบ คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า โพลิป (Polyp) เช่น ไฮดรา ปะการัง ดอกไม้ทะเลและรูปร่างคล้ายร่มหรือกระ ดิ่งคว่ำ เรียกว่า เมดูซา(Medusa) ได้แก่แมงกระพรุน 

 
เปรียบเทียบ รูปร่าง โพลิผ (ภาพซ้าย) และ เมดูซ่า (ภาพขวา)

          -การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกันส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศโดยการแตกหน่อหรือการ แบ่งตัว ซีเลนเทอเรตหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน โอบีเลียมีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternative of generation) โดยมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวหรือ แตกหน่อกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มา ผสมกัน สัตว์ในกลุ่มนี้จัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง เพราะปะการัง สามารถสร้างโครงร่างภายนอกซึ่งเป็นสารจำพวก หินปูนได้และโครงหินปูนเหล่านี้รวมกันมากๆกลายเป็นแนวหินปะการังซึ่ง ให้ความสวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจเป็นที่ท่องเที่ยวและมีนักท่องเที่ยวมา ชมปีละมากๆเช่น หินปะการังที่เกาะล้านนอกจากนี้แนวหินปะการังยังมี ความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังเป็นที่อยู่อาศัยที่ หลบภัย ที่หาอาหาร ที่ผสมพันธุ์และการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์ทะเล หลายชนิดก็อาศัยแนวหินปะการังเป็นแหล่ง ที่อาศัยและที่เจิญเติบโต ดังนั้นแนวหินปะการังจึงมีสัตว์ต่างๆมาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมซึ่ง ลักษณะอันนี้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญและเป็นสมดุลธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากเพราะแนวหินปะการังถูก ทำลายอย่างมาก



  

PHYLUM PLATYHELMINTHES

            PLATYHELMINTHES มาจากภาษากรีก (platy + helminth = flat worm) หมายถึงหนอนที่มีลำตัวแบน ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน ชื่อสามัญ flat worm มีทั้งที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ เรียกหนอนตัวแบน และพวกที่เป็นพยาธิในสัตว์อื่น เรียกพยาธิตัวแบน โดยสัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และบริเวณพื้นดินที่มีชื้นสูง พบประมาณ 20,000 สปีชีส์


ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Platyhelminthes
          - มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry)
          - ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด
          -ไม่มีข้อปล้อง แต่บางชนิด เช่น พยาธิตัวตืด มีข้อปล้องแต่เป็นข้อปล้องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ ผิวลำตัวเท่านั้น
          ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
          -พวกที่ดำรงชีวิตแบบพยาธิ (Parasitic type)จะมีสารคิวติเคิล(cuticle)ซึ่งสร้างจากเซลล์ที่ผิวของลำตัวหุ้มตัวเพื่อป้องกัน อันตรายซึ่งจะเกิดจากน้ำย่อยของผู้ที่มันเป็นปรสิตอยู่ (Host) ทำอันตราย แต่ในพวกที่ดำรงชีพ  แบบอิสระ(Free living type) จะไม่มีสารคิวติเคิลหุ้ม แต่จะ มีเมือกลื่นๆแทนเพื่อช่วยให้เคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น
         - ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง
         - ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจโดยเฉพาะ ในพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration) ส่วนในพวกที่ดำรงชีวิตแบบอิสระ หายใจแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) โดยใช้ผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
       -  มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร
       - มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางด้านข้างของลำตัว
       - มีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ภายในตัวเอง (Self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (Cross fretilization)
       -ระบบระบบขับถ่ายใช้เซลล์ชนิดพิเศษเรียก เฟลมเซลล์ (Flame cell)ซึ่งแทรกอยู่ทั่วลำตัว ทำหน้าที่สกัดของเสียและขับของเสียออกทางท่อที่อยู่ 2 ข้างลำตัว (Excretory canal)
      - ระบบสืบพันธุ์ จัดเป็นพวกกระเทย (Hermaprodite) คือมีทั้ง 2 เพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ในตัวเอง (self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (cross fertilization)

ที่มา :http://www.dmj.ac.th/Woralukkhana/Phylum%20Platyhelminthes.htm

PHYLUM NEMATODA

      ได้แก่ พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู


ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Nemetoda
        - มีสมมาตรแบบ bilateral symmeter
        - ลำตัวกลมยาวหัวท้ายเเหลม ไม่มีรยางค์
        - มีเปลือกเป็นคิวติเคิลหนาปกคลุม แหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีข้อปล้อง ผิวลำตัวเรียบ มีสารคิวติเคิลหนาหุ้มตัว
        - สมมาตรครึ่งซีก
       - มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีทั้งปากเเละทวารหนัก 
       - ร่างกายมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
       - มีช่องว่างในลำตัวแบบเทียม (Pseudocoelomate animal) โดยช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อ ชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน ช่องลำตัวเทียม (psudocoelom) หนอนตัวกลมเป็นสัตว์ที่มี ช่องลำตัวเทียม ซึ่งมีการพัฒนาช่องระหว่างผนังลำตัวและท่อทางเดินอาหาร โดยที่เป็นช่องตัวที่เจริญมาจาก blastocoel ของระยะเอมบริโอ ช่องตัวชนิดนี้จะไม่มีเยื่อ peritoneum ซึ่งเจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง อวัยวะภายในช่องตัวจึงลอยอย่างอิสระในของเหลว
       - ระบบประสาท เป็นวงเเหวนรอบคอ ต่อกับเส้นประสาทที่ยาวตลอดลำตัว แขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง
        - ไม่มีระบบไหลเวียนเลือดเเละระบบหายใจ แต่ใช้ของเหลวในช่องว่างเทียมช่วยในการลำเลียงสาร
        -ไม่มีอวัยวะหายใจโดยเฉพาะ พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่พวกที่อยู่อย่างอิสระใช้ผิวหนังในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
        การสืบพันธุ์เเบบอาศัยเพศ มีตัวผู้ตัวเมียคนละตัวกัน ไข่มีสารไคตินหุ้มจึงทนทานต่อสภาพเเวดล้อมได้ดี
        - ระบบขับถ่ายประกอบด้วยเส้นข้างลำตัว (lateral line) ซึ่งภายในบรรจุท่อขับถ่าย (excretory canal) ไว้
        -มีระบบกล้ามเนื้อยาวตลอดลำตัว 8.ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมีแขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง
     -เป็นสัตว์แยกเพศ ตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เนื่องจากตัวเมียต้องทำหน้าที่ในการออกไข่



PHYLUM ANNILIDA

               ไฟลัมแอนนิลิดา หรือ หนอนปล้อง ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง (coelom) มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นสามชั้น
 ได้แก่ ไส้เดือนดิน แม่เพรียง ทากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด
5.1    ชั้นโพลีคีตา (Polychaeta) ได้แก่ แม่เพรียง (Nereis) หนอนฉัตร (trbe worm)
5.2    ชั้นโอลิโกคีตา (Oligochaeta) ได้แก่ ไส้เดือนดิน (Pheretima)
5.3    ชั้นไฮรูดิเนีย (Hirudinea) ได้แก่ ปลิง (leech) ทากดูดเลือด (landleech)





ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน Phylum Annilida
    - มีลำตัวกลมยาวเป็นปล้องๆ มองเห็นภายนอกเป็นวงเเละภายในมีเนื้อเยื่อกั้นระหว่างปล้องเรียกว่า เซปตา ( septa ) 
    - เเต่ละปล้องมีอวัยวะ คือ เดือย ( saeta ) 4 คู่ เนฟริเดีย ( อวัยวะขับถ่าย )1 คู่ เส้นประสาท 3 คู่ ทางเดินอาหารเเละช่องลำตัวส่วนหนึ่ง ยกเว้นปล้อง
    - ที่มีหัวที่ซึ่งมีอวัยวะสำคัญ ( สมอง คอหอย หัวใจ )
    - ร่างกายมีสมมาตรครึ่งซีก
    - มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
    - มีช่องลำตัวเเท้จริง ( coelom ) ซึ่งเป็นช่องลำตัวในเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม
    - ระบบประสาทประกอบด้วย ปมสมองที่หัว 1 คู่ และ เส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง 










ที่มา : http://www.dmj.ac.th/Woralukkhana/Phylum%20Annelida.htm