Mollusca มาจากภาษาละติน (molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย ช่องลำตัว (coelom)ตั้งแต่ยุคพรีแคมเบรียนที่ผ่านมา สัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายที่ซับซ้อนที่สุด ได้แก่ พวกที่ไม่มีช่องตัว แต่มันจะประสบปัญหา ในการหาอาหารจากพื้นผิวที่เหยื่อฝังตัวอยู่ ดังนั้นสัตว์ใด ๆ ที่สามารถปรับตัวให้สามารถใช้ร่างกายให้เป็นประโยชน์มากที่สุดในการล่าเหยื่อ สัตว์เหล่านั้นก็จะประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่นในกลุ่มที่มีของเหลวภายในร่างกายบรรจุอยู่ในช่องว่างของลำตัว จะทำให้ร่างกาย มีโครงร่างค้ำจุนชนิดที่เป็นของเหลว ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสัตว์ยุคโบราณมีการปรับตัว โดยที่มีของเหลวเข้าไปบรรจุอยู่ในช่องลำตัวในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ซึ่งหมายถึงช่องว่างนี้ถูกบุด้วยเยื่อชั้นกลางที่จะกลายเป็นเยื่อบุช่องท้อง การพัฒนาขอ งช่องตัวนี้ นับเป็นก้าวใหญ่ของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากพวกที่มีช่องลำตัวเทียมกลายมาเป็นพวกที่มีช่องตัวแบบต่าง ๆ ในที่สุด
ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน PHYLUM MOLLUSCA
ลักษณะสำคัญของสัตว์ใน PHYLUM MOLLUSCA
1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก
(bilateral symmetry)
2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ช่องตัวเป็นแบบแท้จริง (Eucoelomate
animal)
3. ลำตัวอ่อนนุ่มไม่มีปล้องโดยทั่วไปแล้วมีแมนเทิล (mantle) ทำหน้าที่ในการสร้างเปลือกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูน (CaCO3) แต่บางชนิดอาจไม่มีเปลือกเช่น พวกทากทะเล
4. ระบบทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์มีปากและมีทวารหนัก แต่ทางเดิน อาหารมักจะขดเป็นรูปตัว
(U) ในช่องปากมักมีแรดูลา (Radula) ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน
(Chitin) ช่วยในการขูดและกินอาหาร (ยกเว้นพวกหอย 2 ฝา ไม่มีแรดูลา) นอกจากนี้ยังมีน้ำย่อยที่สร้างจาก ตับและต่อมน้ำลายช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
5. ระบบหายใจ พวกที่อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก ส่วนพวกที่อยู่บนบกหายใจด้วยปอด
ซึ่ง เปลี่ยนแปลงมาจากช่องของแมนเติลหรืออาจใช้แมนเทิลและผิวลำตัวในการแลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจ
6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open circulatory system) ซึ่งหมายถึงเลือดไม่ได้อยู่ภายในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะเลือดไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัวแล้วจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก
หัวใจของพวกมอลลักมี 2-3 ห้องทำหน้าที่รับส่งเลือดในน้ำเลือดมีสารฮีโมไซยานิน
(hemocyanin) ซึ่งมีธาตุทองแดง (Cu) เป็นองค์ประกอบอยู่หรือฮีโมโกลบิน
(hemoglobin) ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่ช่วยในการลำเลียงออกซิเจน
7. ระบบขับถ่าย ประกอบด้วยไต หรือเมตรเนพฟริเดีย 1 คู่
ซึ่งเชื่อมต่อกับช่องลำตัว ท่อของไตจะมีหลายแบบและทำหน้าที่
ในการปล่อยสเปอร์มและไข่
8. ระบบประสาทโดยทั่วไปประกอบด้วยปมประสาท 3 คู่ คือ
ปมประสาทที่หัว (cerebral ganglion) ควบคุมการทำงานของ
อวัยวะที่ส่วนหัว ปมประสาทที่เท้า (pedal ganglion) ควบคุมอวัยวะที่
เท้า (foot) และการหดตัวของกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่
ปมประสาทที่อวัยวะภายใน (Visceral ganglion) ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆปมประสาททั้ง
3 ส่วนจะทำงานประสานกัน โดยมีเส้นประสาทเชื่อมโยงจากปมประสาทที่หัวไปยังปมประสาทที่เท้าและอวัยวะภายในด้วย
9. ระบบสืบพันธุ์ โดยทั่วไปแล้วเป็นสัตว์แยกเพศ
ตัวผู้และตัวเมียแยกกันมีบางชนิด เช่น หอยทากเปลี่ยนเพศได้ (protandichermaphrodite)
การปฏิสนธิมีทั้งภายนอกและภายใน ร่างกาย โดยทั่วไปแล้วออกลูกเป็นไข่
มีบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น